วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

รถ AGV ในงานอุตสาหกรรม


  

         โรงงานคุณ ยังใช้ Forklift หรือ Stacker อยู่อีกหรือ ต้นทุนการผลิตต้องเสียไปกับค่าเช่า Forklift หรือ Stacker ค่าบำรุงรักษา ค่าอะไหล่ ( ล้อ แบตเตอรี่ ชิ้นส่วน และอื่นๆ ) เงิน เดือนพนักงาน (พนักงานขับ) ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ค่าเช่าบ้าน  ค่าคอมมิชชั่น ค่าเบี้ยขยัน โอที ค่ากะ ประกันสังคม โบนัสประจำปี และอื่นๆอีกมากมายที่ต้องจ่ายเป็นต้นทุนกับพนักงานขับForklift หรือ Stacker  เราควรบริหารบุคคลากรให้ทำงานมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ปล่อยเป็นหน้าที่ของรถ AGV อัตโนมัติ และนำพนักงานขับไปทำงานอื่น ไม่จำเป็นต้องปลดพนักงานออก
และนี่คือนวัตกรรมใหม่ของคนไทย  รถAGV
ทำไมต้อง AGV
  ใน โลกธุรกิจแห่งการแข่ง ณ ปัจจุบันธุรกิจใดลดต้นทุนได้มากที่สุด นั้นหมายถึงผลกำไรที่มากที่สุดตามไปด้วย หนึ่งในเครื่องมือที่คุณกำลังมองหา name="OLE_LINK2"
ลดต้นทุนการผลิตได้อย่างไร
   ใน สายงานการผลิตที่มีการผลิตแบบต่อเนื่อง หรือมีการเคลื่อนย้ายสินค้า จากสายงานส่วนหนึ่งไปอีกแผนกหนึ่ง จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้าย สินค้า โดยใช้Forklift หรือ Stacker หรือ เครื่องมืออื่นๆเพื่อโยกย้ายสินค้าหรือผ่อนแรงพนักงาน และนี่คือต้นทุนต่างๆที่ตามมา ซึ่งนักบริหารหลายคนกำลังมองหาวิธีกำจัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นทิ้งไป จากระบบบัญชี เพราะต้งการผลกำไรมากที่สุด
ทั้งหมดนี้คือต้นทุน
   ค่าเช่า Forklift หรือ Stacker ค่าบำรุงรักษา ค่าอะไหล่ ( ล้อ แบตเตอรี่ ชิ้นส่วน และอื่นๆ )เงิน เดือนพนักงาน (พนักงานขับ) ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ค่าเช่าบ้าน   ค่าคอมมิชชั่น ค่าเบี้ยขยัน โอที ค่ากะ ประกันสังคมโบนัส   ประจำปี อื่นๆ   อีกมากมาย
ประโยชน์ที่ได้รับ
ลดต้นทุนการผลิต
มีการวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริหารบุคลากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
ลดอุบัติเหตุ
โรงงานสีขาว ลดมลพิษและโลกร้อน
เหมาะสมกับ ธุรกิจประเภทใด
บริษัท ธุรกิจประกอบรถยนต์
บริษัท ธุรกิจส่วนประกอบรถยนต์
บริษัท ธุรกิจทรานสปอร์ท
บริษัท ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า

ธุรกิจที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือชิ้นส่วน รวมถึงบริษัทที่มีสายงานการผลิตแบบต่อเนื่อง

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิกไฟฟ้าอุตสาหกรรม56

รายชื่อสมาชิก

1. อาจารย์ ธภัทร  ชัยชูโชค  อ.ปาล์ม  
2. นายกฤษกร  สุวรรณวงค์  เอฟ
3.นายภาคภูมิ  จุลนวล  เจ
4. นายตวิษ เพ็งศรี   บ่าว
5. นายวงศธร  อินทมะโน  พี่หมีด
6. นายอภิวัฒน์  เจิมขวัญ  กุ้ง
7. นายชัยยงค์  ชูแก้ว   ปั๊ม
ุุ8. นายวิโรจน์   เหมมาน  ลิฟ
9. นายอาคม  เรืองกูล  แบงค์
10. นายอนุพงษ์  เทพพรหม  ทิว
11. นายจตุพงค์ ณ สงขลา   พงค์
12. นายจิรกิตต์ สุขเกษม   บอย
13. นายจิรพงศ์ แจ่มศรี   เอฟ
14. นายเชิดชาย เรืองฤทธิ์   ชาย
15. นายกิตติศักดิ์  ระบิงเกา
16. นายนพรัตน์ แก้วกำเนิด   เอ็กซ์
17. นายนันทปรีชา ปิยะ บุญสนอง   โปร
18. นายนิ6นดร์ เสมอพบ   แบ
19. นายนิโรจน์ หวันปรัตน์   ซอล
20. นายปภังกร เอียดจุ้ย   กิ๊ฟ
21. นายพิชชากร มีบัว   กร
22. นายพีระพงศ์ จันทร์ชู   พงศ์
23. นางสาวเยาวเรศ ร่วมพรภาณุ   โรส
24. นายรชต อารี   รอน
25. นายรุสดี วาลี   ซี
26. นายวสุ ราชสีห์   หนัง
27. นายวัชรินทร์ เขียนวารี   ปอนด์
28. นายวิฆเนศ ณ รังษี   หมู
29. นายศุภวัฒน์ ไชยของพรม   รุส
30. นายสมประสงค์ วงศ์สุวรรณ   ทู
31. นายสมศักดิ์ มากเอียด   กล้วย
32. นายสราวุฒิ เกบหมีน   ซอล
33. นายสานิต มิตสุวรรณ   ปอ
34. นายสุรเดช สม่าแห   ยา
35. นายสุรศักดิ์ สะเกษ   โจ้
36. นายเสะมาดี ตูแวดาแม   ดี
37. นายอนิรุตต์ ภาระบุญ   โต๋
38. นายอภิเดช ทองอินทร์   โหนด
39. นายอภิสิทธิ์ ยะโกบ   ดุล
40. นายปรินทร์ ผุดผ่อง   บอล
41. นายอับดุลรอมัน บูกา  
42. นายอับดุลเลาะ กาโฮง   เลาะ
43. นายอาจณรงค์ ราชูภิมนต์   มิค
44. นายอานนท์ นาควิเชียร   นนท์
45. นายอาลียะ  สะอุ  ฟาน
46. นายอาหามะซุบฮี  จะแน  มะ
47. นายอิสมาแอ  มะยี
48. นายจตุรงค์ หิรัญกูล  นิว
49. นายเกรียงศักดิ์  บุญประเสริฐ  เบียร์
50. นายพุฒิพงศ์  หนูนอง  เพชร


วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

โครงสร้างแบบบัส (Bus Network)



การเชื่อมต่อแบบบัส (Bus topology)
โทโปโลยีแบบบัส บางทีก็เรียกว่า Linear bus เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด และเป็นโทโปโลยีที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยแรกๆ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณร่วม หรือ บัส จะสื่อสารกันโดยใช้ที่อยู่ (Address) ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน ในการส่งสัญญาณในสายที่แชร์กันนี้จำเป็นที่ต้องเข้าใจหลักการต่อไปนี้
- การส่งข้อมูล
- การสะท้อนกลับของสัญญาณ
- ตัวสิ้นสุดสัญญาณ

ลักษณะการส่งข้อมูล
การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้น ข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับสื่อกลางบัส แต่เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีอยู่ตรงกับที่อยู่ของผู้รับที่อยู่ในข้อมูลเท่านั้น จึงจะนำข้อมูลนั้นไปทำการโพรเซสส์ต่อไป ส่วนเครื่องอื่นๆ ก็จะไม่สนใจข้อมูลนั้น เนื่องจากสายสัญญาณเป็นสื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียวเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่งเนื่องจากมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนั้น จำนวนคอมพิวเตอร์ที่พ่วงต่อเข้ากับสื่อกลางจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย เพราะยิ่งจำนวนคอมพิวเตอร์มีมากเท่าไร ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต้องรอนานเพื่อที่จะส่งข้อมูล ซึ่งอาจมีผลทำให้เครือข่ายช้ามากขึ้นยังไม่มีวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการวัดว่าจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายอย่างไร ปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพของเครือข่ายลดลงนั้นไม่ใช่เฉพาะจำนวนคอมพิวเตอร์อย่างเดียว สิ่งต่อไปนี้เป็นปัจจัยอื่นที่อาจมีผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายได้
= ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
= จำนวนของโปรแกรมที่กำลังรันบนเครื่องคอมพิวเตอร์
= ชนิดของแอพพลิเคชันที่ใช้เครือข่าย เช่น แอพพลิเคชันแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ โปรแกรมถ่ายโดนไฟล์ผ่านเครือข่าย เป็นต้น
= ระยะห่างระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย

ในขณะใดขณะหนึ่ง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย จะเช็คดูว่ามีข้อมูลส่งมาถึงตัวเองหรือไม่ หรือไม่ก็กำลังส่งข้อมูล เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่มีหน้าที่ในการส่งข้อมูล ดังนั้นเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานก็จะไม่ทำให้เครือข่ายล่มได้ 

การสะท้อนกลับของสัญญาณและเทอร์มิเนเตอร์  
เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปในเครือข่ายอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณนี้จะต้องเดินทางจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่งของสายสัญญาณ ถ้าไม่มีการจำกัดสัญญาณนี้มันก็จะสะท้อนกลับมาบนสายสัญญาณ ซึ่งอาจทำให้เครื่องอื่นๆ ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการหยุดการสะท้อนกลับไปกลับมา ของสายสัญญาณนี้ หลังจากที่ข้อมูลได้ส่งถึงที่หมายเรียบร้อย ตัวเทอร์มิเนเตอร์ (Terminater) จะทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณเพื่อไม่ให้สะท้อนกลับ และจะถูกติดไว้ที่ปลายสัญญาณ การดูดกลืนสัญญาณนี้จะทำให้สัญญาณว่าง และพร้อมสำหรับการส่งข้อมูลอีกที่ปลายทั้งสองข้างของสายสัญญาณจะต้องเสียบเข้ากับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เน็ตเวิร์คการ์ด หรือตัวเชื่อมต่อ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้มีระยะยาวขึ้น ปลายที่ไม่ได้เสียบเข้ากับอุปกรณ์จะต้องติดตัวเทอร์มิเนเตอร์เพื่อป้องกันการสะท้อนกลับของสัญญาณ

การรบกวนการสื่อสารข้อมูลของเครือข่าย
เมื่อเกิดสายสัญญาณขาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง หรือมีการถอดปลายสายออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำให้สายสัญญาณ ณ จุดนั้นไม่มีตัวเทอร์มิเนเตอร์ อันเป็นเหตุให้สัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งจะไปรบกวนสัญญาณเดิม และทำให้ข้อมูลนั้นเสียไป สัญญาณนี้ก็จะสะท้อนกลับไปกลับมาซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลใหม่ได้ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เครือข่ายประเภทนี้ล่ม 
ความสามารถในการขยายเครือข่าย
เมื่อต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ใหม่เข้ากับเครือข่าย จำเป็นต้องใช้สายสัญญาณที่ยาวขึ้น สายสัญญาณที่ใช้ในโทโปโลยีแบบบัสนี้สามารถต่อให้ยาวขึ้นโดย 2 วิธี ดังนี้
= ใช้หัวเชื่อมต่อซึ่งเรียกว่า “barrel connector “เชื่อมต่อสายสัญญาณสองเส้นซึ่งจะทำให้สายสัญญาณยาวขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้หัวเชื่อมต่อนี้จะลดกำลังของสัญญาณ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้หัวเชื่อมต่อให้มากที่สุด การใช้สายสัญญาณที่ยาวเส้นเดียวจะดีกว่าการใช้สายสัญญาณหลายๆ เส้นเชื่อมต่อกันให้ยาวขึ้น การใช้หัวเชื่อมต่อหลายที่อาจจะทำให้สัญญาณลดทอนลงไป ซึ่งอาจมีผลทำให้ได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง
= ใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ หรือ repeater อุปกรณ์ตัวนี้จะใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้ยาวขึ้น และในขณะเดียวกันก็เพิ่มกำลังให้กับสัญญาณด้วย  
โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์
การทำงานของบัส 
การทำงานหลัก ๆ ของบัสประกอบด้วยสองขั้นตอนคือการส่งแอดเดรสและการรับหรือส่งข้อมูล นิยามจากการทำงานที่กระทำกับหน่วยความจำ คือ ขั้นตอนการอ่านจะทำการส่งข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยประมวลผลและอุปกรณ์ I/O อื่นๆ และขั้นตอนการเขียน จะทำการเขียนข้อมูลลงบนหน่วยความจำ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเราจะเรียกว่า output และ input ตามลำดับ ซึ่งเป็นการอ้างอิงจากการทำงานของหน่วยประมวลผล กล่าวคือ input จะหมายถึงกระบวนการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ I/O ต่างๆ ไปยังหน่วยความจำที่ซึ่งหน่วยประมวลผลสามารถอ่านได้ และ output จะหมายถึงกระบวนการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ จากหน่วยความจำที่ซึ่งหน่วยประมวลผลสามารถเขียนได้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ 
ในการเชื่อมต่อแบบต่างๆ จะต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวกลาง (Media) นำข้อมูล การจะใช้เคเบิ้ลแบบใดจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อ เช่น แบบบัส (Bus)จะใช้สายเคเบิ้ลโคแอกเซียล(Coaxial) แบบสตาร์ (Star) จะใช้สายเคเบิ้ลแบบยูทีพี (UTP) สายเคเบิ้ลที่ใช้งานในระบบเน็ทเวิร์กจะมีอยู่ 4 ประเภท คือ



1. สายโคแอกเซียล (Coaxial) เป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดงเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนยางโดยจะมีลวดถักหุ้มสายยางอีกชั้น (Shield) ปกป้องสัญญาณรบกวน และมีฉนวนด้านนอกเป็นยางสีดำหุ้มอีกชั้น จะมี 2 แบบคือ อย่างหนา (thick) อย่างบาง (thin) ส่วนมากจะใช้งานกับระบบ Ethernet โดยที่ปลายสายทั้งสองด้านจะต้องมีตัว Terminator ปิดด้วย มีความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ต่ำกว่าสาย UTP



2. สายยูทีพี (Unshielded Twisted Pair) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8เส้น ตีเกลียวคู่มี 4 คู่ ไม่มีเส้นรวดถัก (Shield) เนื่องจากการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนแล้ว การใช้งานจะต้องมีการเข้าหัวอาร์เจ 45 (RJ-45) กับสายยูทีพีแล้วนำไปเสียบกับฮับ (Hub) มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 10/100 Mbps ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้งานกันมาก


3. สายเอสทีพี (Shielded Twisted Pair) เป็นสายเส้นคู่ตีเกลียวมีอยู่ 2 คู่มีเส้นลวดถัก (Shield) เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะไกล ๆ ซึ่งสายยูทีพีทำไม่ได้ สายเอสทีพีมีราคาค่อนข้างแพง


4. สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) หรือสายเส้นใยแก้วนำแสง เป็นสายที่รับ-ส่ง สัญญาณด้วยแสง มีความเร็วในการทำงานสูงมาก ส่งได้ไกลและไม่มีสัญญาณรบกวนมีราคาแพงมากกว่าสายสัญญาณแบบอื่น ๆ
ข้อดีข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบบัส
ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
3. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
4. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
ข้อคิดเห็น
                ถ้าเป็นเจ้าของกิจการจะเลือกการเชื่อมต่อแบบบัส  เพราะ  การเชื่อมต่อแบบบัสเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ใช้สายสัญญาณน้อย และเชื่อมต่อได้ง่าย ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทั้งสายสัญญาณ การติดตั้งและการบำรุงรักษา สามารถเพิ่มโหนดได้ง่าย เพราะมีโครงสร้างแบบง่าย มีความเชื่อถือได้ เพราะใช้สายสัญญาณหลักเพียงเส้นเดียว 

ใบงานที่3

เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
               ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เราหันมาให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทำให้เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอินเทอร์เน็ต หรือด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมในระยะไกลต่าง ๆ   ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในวงการธุรกิจต่าง ๆ   เป็นการนำความรู้จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาสร้างทางเลือกในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารส่งเสริมให้เกิดการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน  ซึ่งเหมาะกับสภาพขององค์กรในปัจจุบันที่ต้องการการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
             จากจุดเริ่มแรกทำให้มีการใช้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เห็นได้ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาล็อกเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัล  ทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น และส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล  ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศทั้งที่เป็นข้อมูลประเภท เสียง และวิดีโอ ไปพร้อม ๆ กัน  อีกทั้งการใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว  รวมทั้งการใช้เซลลูลาห์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ   นับว่าเป็นการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้อุปกรณ์แบบพกพาแบบต่าง ๆ   ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
1.1 องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
               องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดงดังรูปที่ 1

                                          
รูปที่ 1 องค์ประกอบการสื่อสาร
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
               2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
               3.  ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
                    - ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
                    - เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
                     - รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
                     - สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
               5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
  ข้อดีของเทคโนโลยีการสื่อสาร
1. การสื่อสารและโทรคมนาคมนั้น ส่งผลต่อระบบสังคมการเมื่องในแง่ของการเพิ่มช่องทางเลือกในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนให้มากขึ้น ส่วนในระดับปัจเจกบุคคลนั้นพัฒนาการของเทคโนโลยี การสื่อสารทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ตลอดจนจิตสำนึกทางการเมืองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพรมแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตยอีกต่อไป
2. การขยายตัวของการสื่อสารและโทรคมนาคมได้มีอิทธิพลที่สร้างผลต่อสังคมไทยทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลของ "ทุนนิยมสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทย เกิด "การหลั่งไหลของทุนและข้อมูลข่าวสารเข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย
3. การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกติดต่อกันง่านขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ "หมู่บ้านโลก" (global village) และ "วัฒนธรรมโลก" (global culture) ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมหรือประเทศเดียวกัน ทำให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติและค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ จึงเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย

     ข้อเสียของเทคโนโลยีการสื่อสาร
      ผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคาที่เกิดขึ้นในทางลบมีหลายประการ เช่น ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรมบนอินเตอร์เนต  การแพร่ภาพอนาจารย์บนเครือข่าย การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชน  การพนันบนเครือข่าย การพาณิชย์ที่ขัดต่อกฏหมายและศิลธรรม ปัญหาบุคลากรสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาอาชญากรรมชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมโดยรวม จนรัฐบาลของประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
2. ธุรกิจที่ทำภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศและอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขัดต่อศิลธรรมและจริยธรรมมีมากมาย ทั้งที่ผิดศิลธรรมชัดเจน และที่อยู่ในข่ายหลอกลวงให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ธุรกิจเหล่านี้มาในรูปแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลในระบบออนไลน์ช่วยให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมักจัดทำเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของนิติบุคคล หรือการให้บริการของหน่วยต่างๆ ซึ่งผู้ใช้บริการมักเข้าใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไว้นั้นจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ในความเป็นจริงข้อมูลเหล่านี้อาจถูกละเมิดได้ โดยที่เจ้าของข้อมูลอาจรู้เลยก็ได้
4. อินเทอร์เน็ตนั้นมิได้มีแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว เป็นที่ยอมรับกันว่าความไร้ขอบเขตของการออนไลน์ทำให้เกิดผลในทางลบหลายๆ ประการ ที่เห็นได้ชัดคือปัญหาสื่อลามกอนาจาร การล่อลวง เกมออนไลน์ เป็นต้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งขาดความรู้ ความเข้าใจ และความระมัดระวังตัวในการออนไลน์หรือการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

นาย ธีรวุฒิ  ศรีสวัสดิ์
ชื่อเล่น  วุฒิ
ที่อยู่ 40 ม.3 ต.บ่อแดง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
เบอร์ 0827974717